มิติเศรษฐกิจ และบรรษัทภิบาล

ความยั่งยืน

“บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมาย “มุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งที่ดี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สมดุลของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อันจะนำไปสู่การเป็นธุรกิจ ที่มีความมั่นคงและเติบโตควบคู่ไปกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีในระยะยาว ภายใต้จรรยาบรรณและหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ซึ่งบุคลากรทุกคนยึดถือปฏิบััติมาอย่างต่อเนื่อง

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่บุคลากรของบริษัททุกคนต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปอย่างโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย จึงได้กำหนดเป็นคู่มือจรรยาบรรณ เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้

จรรยาบรรณและหลักการกำกับดูแลกิจการ

จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้า

มิติเศรษฐกิจ และบรรษัทภิบาล

การบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร

เป้าหมาย

ทบทวน ติดตามและจัดทำแผนความเสี่ยงสำคัญ (Key risks) ของบริษัท ทุกไตรมาส

แนวทางบริหารจัดการ

  1. นำมาตรฐานสากล COSO ERM 2017 มาใช้เป็นกรอบในการบริหารความเสี่ยง
  2. ทบทวนความเสี่ยง (Risk review) และ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk appetite) เพื่อกำหนดความเสี่ยงสำคัญ (Key risks) อย่างสม่ำเสมอ หรือ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
  3. ระบุความเสี่ยง โดยคำนึงทั้งปัจจัยภายในและภายนอกธุรกิจ นำมาวิเคราะห์ผลกระทบ (Impact) และโอกาสความถี่ในการเกิดเหตุการณ์ (Likelihood) ซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อจัดลำดับความสำคัญ ด้วยแผนที่ความเสี่ยง (Risk map) แล้วกำหนดแผนจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อกำกับและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  4. ติดตามความเสี่ยงผ่านตัวชี้วัดความเสี่ยงสำคัญ (Key Risk Indicators : KRIs) และ ความคืบหน้าของแผนจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้ เพื่อประเมินระดับความเสี่ยง (Risk exposure) ทุกไตรมาส เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการนโยบายความเสี่ยง

เป้าหมาย

ไม่มีกรณีพิพาท ถูกตัดสินความผิด ถูกฟ้องร้อง หรือถูกร้องเรียนในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

แนวทางบริหารจัดการ

  1. ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม และเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยื่งในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี โดยผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเท่าเทียมกันตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยบริษัทมีการแจ้งข้อมูลทั้งก่อน และหลังประชุมตามแนวทางปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต.
  2. เข้าร่วมการประชุม ‘วันบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน’ (Opportunity Day) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทุกไตรมาส เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ และการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงพบปะพูดคุยกับนักลงทุน เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ถือหุ้นนักลงทุน
  3. ติดตามผลการดำเนินงานผ่านตัวชี้วัดตามเป้าหมายขององค์กร (Objective and Key Results; OKR) รายงานคณะผู้บริหาร ไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้าด้านปฏิบัติการ และร่วมกันผลักดันนโยบาย และการสนับสนุนผลักดันให้สำเร๋จตามเป้าหมายองค์กร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆสำหรับการกำกับดูแลกิจการ

เป้าหมาย

ไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย และการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย

แนวทางบริหารจัดการ

  1. นำแนวทางการพัฒนาอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือ Green Building มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาโครงการ ตลอดจน ดำเนินงานตามมาตรฐานอาคารด้านความยั่งยืนและมาตรฐานการดำเนินงาน อาทิ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาตรฐานการจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (ISO 14064-1) มาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001) เป็นต้น
  2. ส่งเสริมการติดตั้งหลังคาโซลาร์เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก และการบริหารจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
  3. ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยมลพิษ และก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการ รวมถึงมุ่งมั่นในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง และกระบวนการก่อสร้างที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ต้นทาง (Embodied Carbon)
  4. ติดตามปริมาณ และรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเพื่อหาแนวทางการลดการปล่อยอย่างต่อเนื่อง
  5. ขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกโครงการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม (SIA) และสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมถึงให้ความสำคัญในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
  6. พัฒนาโครงการโดยมุ่งเน้นความครบถ้วนและหลากหลายของร้านค้า (Merchandising Mix) การบริหารจัดการ และสนับสนุนร้านค้าให้ดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและมีความยั่งยืน รวมถึงช่องทางออนไลน์ เพื่อตอบโจทย์ความจต้องการของลูกค้าอย่างครบวงจร
  7. จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างรับผิดชอบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการ รวมถึงการสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมให้กับสังคม ยกระดับสินค้าของชุมชนและผู้ประกอบกิจการรายย่อยเพิ่มมากขึ้น
  8. นําองค์ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ และความร่วมมือกับพันธมิตร มาช่วยพัฒนาประสิทธิภาพทั้งด้านสินค้า และบริการให้ดียิ่งขึ้น อาทิ ระบบรักษาความปลอดภัย ความสะอาด ระบบการจัดการทรัพยากร โดยมุ่งเน้นยกระดับการจัดการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เป้าหมาย

นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประสบการณ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องทั้งปี

แนวทางบริหารจัดการ

  1. รวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และปัญหา (pain point) ของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น
  2. ติดตามความเคลื่อนไหว และการพัฒนานวัตกรรมของโลก รวมถึงความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจแบบเชิงรุก เพื่อนำมาใช้ในการตอบสนองเป้าหมาย และกลยุทธ์ของบริษัท
  3. สรรหานวัตกรรมที่ส่งเสริมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงศึกษาองค์ความรู้ และสนับสนุนความร่วมมือกับภาครัฐในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน สังคม และประเทศตามเนวทาง BCG Model
  4. ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร ผ่านโครงการ ‘ดรีมทีม’ และ ‘ดรีมบิ๊ก’ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และตอบโจทย์การใช้งานของตนเองอย่างเท้จริง รวมถึงอบรมความรู้ด้านนวัตกรรมให้พนักงานอยู่เสมอ เพื่ออัพเดทเทรนด์ และเกิดการทำงานตามกรอบแนวคิด Design Thinking
  5. ติดตามความคุ้มค่าของนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของ ต้นทุนที่ประหยัดขึ้น ความรวดเร็วในการให้บริการที่เพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของลูกค้า และการเข้าถึงประโยชน์ของสาธารณชน เป็นต้น เพื่อวางแนวทางการพัฒนาต่อยอดต่อไป

เป้าหมาย

  • ตรวจประเมินคู่ค้าด้านการพัฒนาโครงการ และปฏิบัติการ ครบ 100%
  • ตรวจประเมินคู่ค้า ณ สถานประกอบการสำหรับคู่ค้าที่มีความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ 100%
  • ดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพของคู่ค้า จำนวน 100 ราย ภายในปี 2568

แนวทางบริหารจัดการ

  1. กำหนดนโยบายด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการปฏิบัติต่อคู่ค้า จรรยาบรรณและแนวทางการปฏิบัติของคู่ค้า อ้างอิง แนวทางการปฏิบัติกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ในระดับประเทศ ภูมิภาค และสากล อาทิ พระราชบัญญัติ คุ้มครอง แรงงาน United Nations Global Compact (UNGC) Universal Declaration of Human Rights (UDHR) และ International Labor Organization (ILO)
  2. บูรณาการมิติด้านความยั่งยืนในการดำเนินงานร่วมกันกับคู่ค้า ผ่านช่องทางการสื่อสารถึงความคาดหวังของบริษัทฯ ให้แก่คู่ค้าในช่วงการสรรหาและจัดจ้าง การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าควบคู่กับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งสนับสนุนให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนสร้างคุณค่าร่วมกันให้กับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
  3. จัดกลุ่มคู่ค้า โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์ยอดค่าใช้จ่าย ความสำคัญของผลิตภัณฑ์หรือบริการในการจัดซื้อจัดหา ระดับการพึ่งพาคู่ค้า การเป็นผู้นำเสนอสินค้า / บริการรายเดียวในตลาด การเป็นคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ และทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

เป้าหมาย

  • ไม่มีข้อร้องเรียนด้านการละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้า การทำข้อมูลลูกค้ารั่วไหล สูญหาย
  • ไม่มีข้อร้องเรียนด้านผลกระทบจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้มีส่วนได้เสีย

แนวทางบริหารจัดการ

  1. พัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยด้านสารสนเทศ โดยใช้มาตรฐาน ISO 27001:2013 และ NIST SP800-53 เป็นกรอบในการดำเนินการซึ่งครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ ทั้งระบบ Hardware, Software และ Network ของบริษัทฯ
  2. เก็บรวบรวมฐานข้อมูลลูกค้า โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่างเคร่งครัด ด้วยนโยบายและแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
  3. ขออนุญาตรวบรวม จัดเก็บ ใช้ และส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคบตามความเหมาะสม รวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติรองรับการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลและมาตรการจัดการเมื่อเกิดอุบัติการณ์ที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและรัดกุม
  4. ให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่บุคลากรทั่วทั้งองค์กรผ่านสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภัยคุกคามและผลกระทบทางไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึง วางแผนพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทฯ ตามกรอบการพัฒนาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
  5. จัดทำประกันภัยด้านไซเบอร์เพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงมีการซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan - BCP) การรับมือเมื่อเกิดเหตุให้เหมาะสมกัสภาพแวดล้อมและระบบที่ใช้ในปัจจุบัน

การบริหารจัดการความเสี่ยง

  • บริษัทฯ กำกับดูแลความเสี่ยง ผ่านการกำหนดนโยบายความเสี่ยง กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และ กรอบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมทั้ง กำหนดให้การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระต่อกัน โดยบริษัทฯ กำกับดูแลความเสี่ยงผ่านคณะกรรมการ และ ผู้บริหาร ดังต่อไปนี้
  • บริษัทฯ มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายความเสี่ยง (Risk Policy Committee) ซึ่งมีกรรมการอิสระเป็นประธานกรรมการ และ มีกรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่ รับทราบและให้ข้อเสนอแนะต่อนโยบายความเสี่ยง โครงสร้างและกรอบการบริหารความเสี่ยง และ ความเสี่ยงที่สำคัญ, พิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อระดับความเสี่ยง และ ช่วงเบี่ยงเบนของความเสี่ยงที่ยอมรับได้, กำกับดูแล การกำหนดเป้าหมายในการวัดผลการปฏิบัติงาน และ ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงที่สำคัญ, พิจารณาความเหมาะสมและประเมินประสิทธิผลของการตอบสนองต่อความเสี่ยงของฝ่ายบริหาร รวมทั้ง รายงานกิจกรรมต่างๆของการบริหารความเสี่ยงต่ออ่านเพิ่มเติมเพื่อรับทราบอย่างสม่ำเสมอ
  • ในระดับบริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ซึ่งมีกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธานกรรมการ และ มีผู้บริหารจากแต่ละฝ่ายงานหลักเป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่ กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายความเสี่ยง และ แนวทางการบริหารความเสี่ยง, กำกับดูแลให้หน่วยธุรกิจ ระบุ ประเมิน จัดการ และ รายงานการบริหารความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการบรรลุวัตถุประสงค์ และ ผนวกการบริหารความเสี่ยงเข้าไปในแผนธุรกิจและการรายงานผลดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง, ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร รวมทั้ง รายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการนโยบายความเสี่ยงและอ่านเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ
  • เพื่อสนับสนุนงานบริหารความเสี่ยง บริษัทมีแผนกบริหารความเสี่ยง เป็น เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีหน้าที่ ติดตาม วิเคราะห์ และ รายงานความเสี่ยงสำคัญต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รวมทั้ง สนับสนุนหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยงให้สามารถระบุความเสี่ยงสำคัญ ประเมินระดับความเสี่ยง จัดทำมาตรการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยแผนกบริหารความเสี่ยงปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแล ของ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน การเงิน บัญชี และ ความเสี่ยง
  • บริษัทฯ กำหนดให้แผนกบริหารความเสี่ยง ปฏิบัติงานสนับสนุน สำนักตรวจสอบภายใน ให้สามารถทวนสอบกิจกรรมสำคัญขององค์กร โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยงของหน่วยงาน และ กิจกรรมการดำเนินงาน รวมทั้ง นำผลการตรวจประเมินของสำนักตรวจสอบภายใน เป็น ข้อมูลในการระบุ และ วิเคราะห์ความเสี่ยงสำคัญ นอกจากนี้ แผนกบริหารความเสี่ยงต้องรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • บริษัทฯ มีกรอบในการกำกับดูแลความเสี่ยง ตามแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้
  • บริษัทฯ นำมาตรฐานสากล COSO ERM 2017 มาใช้เป็นกรอบในการบริหารความเสี่ยง โดยมีแผนภาพความสัมพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง ดังต่อไปนี้
  • บริษัทฯ ทบทวนความเสี่ยง (Risk review) และ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk appetite) เพื่อกำหนดความเสี่ยงสำคัญ (Key risks) อย่างสม่ำเสมอ (ปีละครั้ง) หรือ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ
  • บริษัทฯ ระบุความเสี่ยง โดยคำนึงทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ให้สอดคล้องทิศทางธุรกิจและกลยุทธ์องค์กร พิจารณาโอกาสและผลกระทบของเหตุการณ์ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม แล้วประเมินความเสี่ยง เพื่อจัดลำดับความสำคัญ ด้วยแผนที่ความเสี่ยง (Risk map) แล้วกำหนดแผนจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อกำกับและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  • บริษัทฯ ติดตามความเสี่ยงผ่านตัวชี้วัดความเสี่ยงสำคัญ (Key Risk Indicators : KRIs) และ ความคืบหน้าของแผนจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้ เพื่อประเมินระดับความเสี่ยง (Risk exposure) ทุกไตรมาส เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการนโยบายความเสี่ยง
  • บริษัทฯ มีการใช้ Sensitivity analysis และ Stress testing เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยง ทั้งด้าน Financial และ ด้าน Non-Financial โดยพิจารณาเลือกเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบแบบมีนัยยะ เช่น ค่าแรง และ ค่าไฟฟ้า ที่กำลังปรับเพิ่มขึ้น หรือ ภัยแล้งในแต่ละภูมิภาค เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ และ ความเสี่ยง ต่อผลประกอบการ และ การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
  • กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ จะถูกตรวจสอบ และ ทวนสอบ โดยหน่วยงานตรวจสอบภายใน (Internal Audit) เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพ และ ความเหมาะสมในการจัดการ เพื่อดำเนินการแก้ไข และ ปรับปรุงต่อไป
  • บริษัทฯ ติดตามสถานการณ์ และ ประเมินผลกระทบของความเสี่ยงเกิดใหม่ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวนและวางแผนจัดการอย่างเหมาะสม โดยความเสี่ยงเกิดใหม่ที่สำคัญ ได้แก่
    Topic Category Description Impact Mitigation action
    1. การควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ภาวะการณ์เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ทั้ง ค่าพลังงาน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน รวมทั้ง ต้นทุนเงินทุน จาก การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ต้นทุนและค่าใช้จ่าย สูงกว่า แผนงานที่วางไว้
    • ต้นทุนการก่อสร้างโครงการใหม่
    • ต้นทุนการบริหารศูนย์การค้า/อาคารสำนักงาน
    • ต้นทุนการกู้ยืมเงิน
    • บริหารต้นทุนในการก่อสร้าง โดย ติดตามการปรับราคาวัสดุก่อสร้าง ประสานงานและเจรจากับผู้ขาย ทบทวนการออกแบบและปรับเปลี่ยนวัสดุก่อสร้าง
    • บริหารต้นทุนในการบริหารศูนย์ฯ โดย มุ่งจัดการค่าใช้จ่ายผันแปร เช่น ค่าสาธารณูปโภค และ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ
    • บริหารต้นทุนเงินทุน โดย ปรับโครงสร้างเงินทุนให้แข็งแกร่งขึ้น เพิ่มสัดส่วนเงินกู้ระยะยาว และ เงินกู้ประเภทดอกเบี้ยคงที่
    2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว/รุนแรง ทำให้เกิดภัยธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น รวมทั้ง หลายภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยเร่งพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด ออกกฏระเบียบข้อบังคับ และ คาดหวังให้องค์กรดำเนินการจัดการกับปัญหาอย่างจริงจัง
    • ภัยธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ธุรกิจหยุดชะวัก และ การให้บริการลูกค้าไม่ได้ตามมาตรฐาน
    • การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ หากปรับตัวไม่ทัน และ ดำเนินการไม่เด่นชัด เป็นรูปธรรม
    • รับมือความเสี่ยงทางกายภาพ โดย ติดตามสถาณการณ์ และ โอกาสเกิดภัยธรรมชาติ เตรียมปัองกันและเตรียมการเพื่อลดผลกระทบ รวมทั้ง สื่อสาร อบรม และ ฝึกซ้อมแผนรองรับเหตุการณ์วิกฤต
    • รับมือความเสี่ยงในการเปลี่ยนผ่าน โดย กำหนดเป้าหมายและแผนงาน ทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว ในการเป็นองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net zero organization) ภายในปี 2550 ผ่านแนวทาง การใช้พลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้ Green building standard การปลูกต้นไม้ และ การใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy)

บริษัทฯ สร้างและพัฒนา วัฒนธรรมความเสี่ยงขององค์กร ผ่านวิธีการ เครื่องมือ และ แนวทางที่หลากหลาย ได้แก่

  • การสร้างความตะหนักในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ ผ่านช่องทางและรูปแบบต่างๆ เช่น การสื่อสารความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ การละเมิดกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่าน Email, Workplace เป็นต้น
  • การเรียนรู้ด้านการบริหารความเสี่ยง ผ่านหลักสูตร online สำหรับพนักงานทั้งองค์กร และ ผ่านการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับตำแหน่งงานสำคัญ เช่น ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า
  • การฝึกซ้อม และ ทดสอบ แผนการจัดการภาวะวิกฤต เช่น เพลิงไหม้, วินาศกรรม, ตกจากที่สูง รวมทั้ง ฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ อย่างสม่ำเสมอ เช่น การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างน้อยปีละครั้ง
  • การกำหนดให้ ความเสี่ยงเป็นเกณฑ์หนึ่งในการประเมินผลงานของพนักงาน เช่น การจัดการ Incident & Crisis เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลงาน ของ เจ้าหน้าที่ LP ในศูนย์การค้า
  • การสื่อสารประเด็นความเสี่ยงสำคัญ ผลกระทบ และ การจัดการความเสี่ยง รวมทั้ง ความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging risks) ผ่าน รายงานประจำปี (One Report) เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ทราบถึงการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
นโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆ
คณะกรรมการบรรษัทภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน